1526 จำนวนผู้เข้าชม |
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) คืออะไร มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คือ เนื้องอกของระบบน้ำเหลืองในร่างกาย ระบบน้ำเหลือง (Lymphoma System) จัดเป็นส่วนนึงของระบบภูมิคุ้มกันประกอบประด้วยอวัยวะน้ำเหลือง อันได้แก่ ม้าม,ไขกระดูก, ต่อมทอนซิล, ต่อมไทมัส, ภายในอวัยวะเหล่านี้จะเต็มไปด้วยน้ำเหลือง ซึ่งมีหน้าที่นำสารอาหาร และเซลล์เม็ดเลือดขาว (Lymphocyte) ไปทั่วร่างกาย ความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองขึ้น
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma)และชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma) โดยส่วนใหญ่ในประเทศไทย จะพบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน(Non-Hodgkin Lymphoma)
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน(Non-Hodgkin Lymphoma) มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 30 ชนิดย่อย ถ้าอาศัยอัตราการเจริญของตัวมะเร็งแล้ว จะสามารถแบ่งมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กินออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.ชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indolent) มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้จะมีอัตราการแบ่งตัวของมะเร็งค่อนข้างช้า แต่มักจะไม่หายขาดด้วยการรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน
2.ชนิดรุนแรง (Aggressive) มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้จะมีอัตราการแบ่งตัวของมะเร็งเร็วถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ภายใน 6 เดือนถึง 2 ปี ข้อแตกต่างจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดค่อยเป็นค่อยไป คือ มะเร็งต่อน้ำเหลืองชนิดรุนแรงมีโอกาศที่จะหายขาดจากโรคได้ถ้าได้รับการรักษา
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ปัจจัยเสี่ยง คือ ภาวะที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าการที่มีปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งแล้วจะต้องเกิดโรคนั้นเสมอไป ในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถบอกสาเหตุของมะเร้งต่อมน้ำเหลืองทุกรายได้อย่างชัดเจนแต่พบมีความสัมพันธ์กับหลายภาวะ ได้แก่
อายุ: อุบัติการณ์ของมะเร้งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นโดยอุบัติการณืสูงสุดอยู่ที่ช่วงอายุ 60-70 ปี
เพศ: เพศชายพบเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากกว่าเพศหญิง
การติดเชื้อ พบความสัมพันธ์ระหว่างมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดกับการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori กับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด MALT lymphoma การติดเชื้อไวรัส EBV กับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Burkitt
ภาวะพร่องภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ป่วย HIV พบอุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น
โรคภูมิแพ้ตนเอง (Autoimmune disease) ผู้ป่วย SLE พบอุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น
การสัมผัสสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลงจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
เนื่องจากอาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถพบได้ในหลายภาวะ เช่น การติดเชื้อ ดังนั้นจึงมีผู้ป่วยบางส่วนที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง แต่โดยทั่วไปอาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มักจะกินเวลา และไม่สามารถอธิบายได้จากสาเหตุอื่น
อาการเริ่มต้นของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
การพบก้อนที่บริเวณต่างๆของร่างกาย เช่น ที่คอ รักแร้ ขาหนีบ โดยก้อนที่เป็นมะเร็งต่อมนั้นมักไม่เจ็บ ซึ่งต่างจากการติดเชื้อ ที่มักมีอาการเจ็บที่ก้อน
ไข้ หนาวสั่น
มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน
เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด
อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
ไอเรื้อรัง และหายใจไม่สะดวก
ต่อมทอนซิลโต
อาการคัยทั่วร่างกาย
ปวดศรีษะ (พบในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาท)
การวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
การวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะเริ่มต้นจากการซักประวัติและการตรวจร่างกาย จากนั้นจะพิจารณาสืบค้นเพิ่มเติมอีก ได้แก่
1.การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy)
2.การตรวจไขกระดูก เพื่อประเมินว่ามีการกระจายเข้าไปในไขกระดูกหรือไม่
3.เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
4.เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
5.การตรวจกระดูก (Bone scan)
6.การตรวจ PET scan ซึ่งผลการตรวจทั้งหมดจะนำมาประเมินระยะของโรค เพื่อเป็นแนวทางในการพยากรณ์โรคและการรักษาโรคต่อไป
การประเมินระยะของโรค
แพทย์ผู้ทำการรักษาจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากการสืบค้นเพิ่มเติม แล้วนำมาประมวลว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะใดของโรค เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการวางแผนการรักษาต่อ ระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งออกเป็น 4 ระยะ
ระยะที่ 1: มีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองหรือนอกต่อมน้ำเหลืองเพียงบริเวณเดียว
ระยะที่ 2: มีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองหรือนอกต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่2 ตำแหน่งขึ้นไป โดยต้องอยู่ภายในด้านเดียวกันของกะบังลม
ระยะที่ 3: มีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองหรือนอกต่อมน้ำเหลือที่อยู่คนละด้านของกะบังลม และ/หรือพบรอยโรคที่ม้ามร่วมด้วย
ระยะที่ 4: มีรอยโรคกระจายออกไปเกินตำแหน่งเริ่มต้นที่พบ ตำแหน่งที่พบการกระจายได้บ่อย เช่น ตับ, ไขกระดูก, หรือปอด
นอกเหนือจากการประเมินระยะของโรคแล้ว แพทย์ผู้รักษาจะอาศัยข้อมูลอื่นๆของผู้ป่วยเพื่อนำมาคำนวณหาดัชนีประเมินการพยากรณ์โรคเพิ่มเติมด้วย ซึ่งจะสามารถแบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเสี่ยงต่ำ
แนวทางการรักษา
การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีหลายวิธีประกอบกัน ซึ่งขค้นอยู่กับชนิด และระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองการรักษาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้สามารถใช้ได้ทั้งเป็นการรักษาแบบเดียว หรือการรักษาแบบผสมผสาน
1.การเฝ้าติดตามโรค (Watch&Wait)
การเฝ้าติดตามโรคมักใช้ในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indolent) หรือในรายที่ผู้ป่วยมีอาการจากตัวโรคไม่มาก ระหว่างการเฝ้าติดตามโรค จะมีการตรวจเลือด หรือตรวจทางรังสีเป็นระยะๆ
2.การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
ยาเคมีบำบัดจะทำลายเซลล์มะเร็ง โดยไปรบกวนกรแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งการเลือกชนิดของยาเคมีบำบัดนั้นจะขึ้นอยู่กับชริดของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยทั่วไปการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองมักจะได้ยาเคมีบำบัดหลายขนานรวมกัน หรืออาจให้ร่วมกับการรักาด้วยแอนติบอดี (Monoclonal Antibodies)
3.การรักษาด้วยยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibodies) ยาโมโนโคลแอนติบอดี คือ สารสังเคราะห์ที่จะไปจับกับโปรตีนบนผิวของเซวล์มะเร็งหลังจากนั้นจะมีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อมากำจัดเซลล์มะเร็งนั้น
4.การรักษาด้วยการฉายรังสี (Radiation Therapy) คือการรักษาด้วยการใช้รังสีปริมาณสูง เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
5.การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Tranplantation) หลักการของการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด คือ การทำลายเซลล์มะเร็งให้หมดไป แล้วแทนที่ด้วยเซลล์ที่ปกติ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
5.1 การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด โดยอาศัยเซลล์ของผู้บริจาค (Allogeneic transplantation)
5.2 การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด โดยอาศัยเซลล์ของผู้ป่วยเอง (Autologous transplantation)
การดูแลตนเอง
1.การรับประทานอาหาร
> ควรเลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และทำสุกใหม่ๆ
>ไม่ควรรับประทานอาหารที่เก็บไว้นานโดยไม่ได้อุ่นให้เดือดใหม่หรืออาหารแห้ง ที่ไม่แน่ใจว่าทำเสร็จใหม่ เช่น ขนมตามร้านค้า
>ควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีเปลือกหนา เช่น ส้ม กล้วย โดยต้องล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง
>ไม่ควรรับประทานผลไม้ที่มีเปลือกบาง เช่น ฝรั่ง องุ่น หรือผลไม้ที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ เช่น สับปะรด
>ควรล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
>ควรงดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
2.การออกกำลังกาย
>สามารถออกกำลังกายเท่าที่ทนได้ ไม่ควรหักโหม อาจทำไม่ได้เท่าเดิม แต่ภายหลังการรักษาร่างการจะฟื้นตัวขึ้นได้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่เคยออกกำลังกาย ไม่ควรอยู่แต่ภายในห้องนอนควรลุกเดินเล่นไปบ้าง เพื่อให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ ซึ่งการออกกำลังกายจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
3.การทำความสะอาดร่างกาย
>ควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
>ใช้โลชั่นที่ไม่มีน้ำหอมทาผิวเพื่อป้องกันผิวแห้ง
>แปรงฟันเบาๆ ด้วยแปรงที่มีขนแปลงอ่อนนุ่ม อย่างน้อย วันละ2 ครั้ง
>ควรล้างทำความสะอาดบริเวณทวารหนักหลังถ่ายเสร็จทุกครั้งและใช้กระดาษชำระซับเบาๆให้แห้ง
4.ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดและมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
5.นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ขอบคุณที่มา : Roche